โดเมนเนมคืออะไร

โดเมนเนมคืออะไร อยากจดโดเมนต้องทำอย่างไร

เราคงเคยได้ยินชื่อ Google.com, Facebook.com หรือชื่อเว็บอื่นๆ รู้ไหมครับว่า ชื่อที่เราเอาไปเรียกพวกนี้ก็คือ โดเมนเนม (Domain Name) นั่นเอง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโดเมนเนมนี้กันว่า มันคืออะไร มีกี่ประเภท และหากเราสนใจอยากจะจดโดเมนแบบเว็บข้างต้นบ้าง เราจะต้องทำอย่างไร

โดเมนเนมคืออะไร

โดเมนเนม (Domain Name) คือ ชื่อโดเมนหรือชื่อเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น webdodee.com จะมีชื่อของเว็บไซต์ คือ webdodee ในขณะที่ com เป็นประเภทของโดเมนเนม มีจุดคั่นกลางระหว่างชื่อโดเมนเนมและประเภทของโดเมนเนม เรียกว่า dot

โดเมนเนมมีจุดประสงค์เพื่อแทนหมายเลขที่อยู่อินเตอร์เน็ทของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า IP Address (Internet Protocal Address)  เช่น 1.47.22.5 เราสามารถเปรียบเทียบโดเมนเนมเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นเป็นลักษณะดังนี้ มีบ้านสวนมนตรี อยู่บ้านเลขที่ 31 ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ ในที่นี้บ้านเลขที่ก็คือ IP Address และชื่อบ้านสวนมนตรี ก็คือ ชื่อโดเมนเนมนั่นเอง

ประเภทของโดเมนเนม

ประเภทของโดเมนเนมเป็นการบอกว่าโดเมนเนมนั้นเป็นเว็บไซต์ประเภทใน ยกตัวอย่างเช่น wordpress.org เป็นโดเมน 2 ระดับมีประเภทของโดเมนเนม คือ org มาจากคำว่า Organization ซึ่งหมายถึงเว็บนี้เป็นเว็บขององค์กรไม่แสวงผลกำไรเป็นต้น หรือ thairath.co.th เป็นโดเมน 3 ระดับ ในส่วนของ .co.th โดย co มาจากคำว่า Company และ th มาจากคำว่า Thailand ในที่นี้ .co.th คือเว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบบริษัทในประเทศไทยนั่นเอง

โดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป (Generic Top Level Domain: gTLD) 

โดเมนเนมแบบทั่วไปนี้เราสามารถใช้งานได้ในทุกประเทศทั่วโลกจึงเป็นที่นิยม รูปแบบของโดเมนนี้ที่จะเป็นชื่อของเว็บไซต์จะตามด้วยประเภทของโดเมนเนมในทันที เช่น google.com ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 21 dot

ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดหมวดทั่วไป

  • .org คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  • .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .net คือ องค์กรที่เป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ
  • .gov คือ องค์กรรัฐบาล
  • .edu  คือ องค์กรการศึกษา
  • .mil คือ เว็บที่เกี่ยวข้องกับการทหาร

โดเมนเนมของรหัสประเทศ (Country Code Top-Level Domain: ccTLD)

โดเมนเนมนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะบอกถึงประเภทของกิจการ และส่วนที่สองจะบอกถึงประเทศที่กิจการอยู่ เช่น .ac.th หมายถึง เป็นกิจการที่ทำเกี่ยวกับการศึกษาภายในประเทศไทย เป็นต้น รูปแบบจะเป็นดังนี้

ชื่อเว็บไซต์ . รหัสกิจการ . รหัสประเทศ

ตัวอย่างโดเมนเนมของรหัสประเทศ

ตัวอย่างรหัสกิจการ

  • co คือ บริษัท หรือองค์กรพาณิชย์
  • go คือ รัฐบาล ราชการ
  • ac คือ สถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย
  • or คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

ตัวอย่างรหัสประเทศ

  • th คือ ประเทศไทย
  • cn คือ ประเทศจีน
  • us คือ สหรัฐอเมริการ
  • ru คือ รัสเซีย
  • sg คือ สิงค์โปร์

การตั้งชื่อโดเมนเนม

เราสามารถทำการตั้งชื่อโดเมนเนมเป็นชื่ออะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกก็คือ ชื่อโดเมนเนมของเราที่จะต้องทำให้คนสามารถจดจำได้โดยง่าย หรือชื่อโดเมนเนมของเราต้องสอดคล้องกับกิจการหรือบริษัทที่เราได้ดำเนินการอยู่ นอกจากนั้นแล้วในส่วนของประเภทของโดเมนเนม เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่ากิจการของเราต้องใช้ประเภทของโดเมนเนมชนิดใด การเลือกประเภทของโดเมนเนมที่ง่ายที่สุดก็คือใช้ Dot com เป็นประเภทของโดเมนเนมนั้นๆ

การตั้งชื่อโดเมนเนมเป็นภาษาไทยได้หรือไม่

ได้ เราสามารถตั้งชื่อโดเมนเนมเป็นภาษาไทยได้ แต่เนื่องคำภาษาไทยจะถูกแปลงเป็นอักขระพิเศษทำให้เวลานำลิงก์เว็บไซต์ของเราส่งให้คนอื่นอาจทำให้อ่านได้ยาก ทำให้ชื่อเว็บไซต์แบบภาษาไทยไม่เป็นที่นิยม เช่น เว็บดูดี.com เมื่อนำลิงก์นี้ไปแปะไว้ใน Facebook messenger จะถูกแปลงเป็น http://xn--l3caq5czdwa9b3c.com/ เป็นต้น

อยากจดโดเมนเนมทำอย่างไร

หากเราอยากจดโดเมนเนม จะมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

1. การตรวจสอบชื่อโดเมนเนม

เมื่อเราได้ชื่อโดเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปคือ ทำการตรวจเช็คชื่อโดเมนเนมของเราว่ามีคนใช้หรือจองไปใช้งานแล้วหรือยัง โดยเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บโฮสติ้งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น hostatom.com โดยทำการพิมพ์ชื่อโดเมนเนมของเราไปในช่องค้นหาเพื่อตรวจสอบ หากพบว่ามีการใช้งานหรือจองไปแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องตั้งชื่ออื่นเป็นชื่อโดเมนเนมของเราใหม่อีกครั้งจนเจอโดเมนเนมที่ว่างจากการใช้งานครับ

ลงทะเบียนโดเมน

2. การสั่งซื้อโดเมนเนม

ในการสั่งซื้อโดเมนเนมนั้น ราคาของโดเมนเนมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของโดเมนเนม ความนิยมของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ หากเราดูจากเว็บจะเห็นว่า ราคาของโดเมนเนม Dot Com จะราคาถูกกว่า โดเมนเนมประเภทอื่นๆ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Dot Com ถึงได้รับความนิยมมากกว่าโดเมนเนมประเภทอื่น

ราคาโดเมนแบบ cctlds
ราคาโดเมนแบบ gtlds

นอกจากนั้นแล้วการสั่งซื้อโดเมนเนมตามประเทศ เช่น .co.th นั้น จะทำได้ยุ่งยากกว่าเนื่องจากต้องการเอกสารประกอบการสั่งซื้อหลายอย่าง ได้แก่ ใบจดทะเบียนบริษัท ภงด เป็นต้น

ระเบียบและเอกสารประกอบการจดทะเบียน .th

  • โดเมน .co.th ใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของนิติบุคคล พร้อมประทับตรา (มีชื่อภาษาอังกฤษ) ลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท
  • โดเมน .ac.th ใช้หนังสือจัดตั้งโรงเรียน หรือหนังสือรับรองที่ออกโดยโรงเรียน ระบุชื่อสถานศึกษา ที่อยู่ และสังกัดโดยระบุชื่อโดเมนที่ต้องการจด ลงนามพร้อมประทับตราโรงเรียน
  • โดเมน .or.th ใช้หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนหน่วยงานประกอบการจดทะเบียน
  • โดเมน .go.th หน่วยงานราชการ ใช้หนังสือแจ้งความประสงค์ใช้ชื่อโดเมนของหน่วยงานประกอบการจดทะเบียน
  • โดเมน .in.th ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนประกอบการจดทะเบียนโดเมน (จดชื่ออะไรก็ได้)
  • โดเมน .mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหาร

เราสามารถสั่งซื้อโดเมนและโฮสติ้งจากเว็บไซต์ hostatom ได้

สรุปส่งท้าย

โดเมนเนมหรือชื่อเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำเว็บไซต์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพราะหากเราเลือกชื่อที่ดี จดจำง่าย ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถจดจำเราได้และจะช่วยลดต้นทุนในการโฆษณาเพื่อผลักดันชื่อของเว็บไซต์ในกรณีที่ชื่อเว็บไซต์ของเราจดจำได้ยาก หากเราทำชื่อเว็บไซต์หรือชื่อโดเมนเนมของเราโด่งดังจะหมายถึงมูลค่าของโดเมนเนมนั้นๆ ก็จะมีค่าสูงตามด้วย

อ้างอิงHostatom

Leave a Comment

Contact Us via Line QR code