บทความก่อนหน้า เราแนะนำถึง WordPress และวิธีการติดตั้ง WordPress บน Xampp ซึ่งเป็นเซิฟเวอร์จำลอง ไปแล้ว เรายังสามารถทำการติดตั้ง WordPress ได้บนโฮสจริงได้ด้วย ในบทความนี้ เราจึงจะมาแนะนำถึงขั้นตอนการติดตั้ง WordPress กับโฮส เช่น Plesk, cPanel และ DirectAdmin ครับ
Table of Contents
Plesk, cPanel และ DirectAdmin คืออะไร
Plesk, cPanel และ DirectAdmin เป็น Control Panel ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการโฮสติ้ง เช่น การจัดการโดเมน การจัดการไฟล์ การจัดการฐานข้อมูล การจัดการเมล การจัดการเรื่องความปลอดภัย และอื่นๆ เราสามารถเลือกใช้งานได้ Control Panel นี้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นกับบริษัทโฮสติ้งที่เราเช่าใช้งาน เช่น ถ้าเราเช่าพื้นที่ใช้งานทำเว็บไซต์กับ Hostatom เราก็สามารถเลือกใช้งาน Control Panel ได้ คือ Plesk หรือ DirectAdmin เป็นต้น แต่หากเช่าใช้งานกับบริษัทโฮสติ้งต่างประเทศก็อาจจะได้ cPanel ในการจัดการ การติดตั้ง WordPress บน Control Panel นี้มีลักษณะคล้ายกัน เนื่องจากบาง Control Panel ใช้โปรแกรมในการติดตั้งแบบเดียวกัน ให้เราเลือกดูตัวอย่างโปรแกรมและวิธีการติดตั้ง WordPress ตามหัวข้อที่ต้องการได้จากด้านล่างครับ
- ดูตัวอย่างโปรแกรม Plesk
- ดูตัวอย่างโปรแกรม cPanel
- ดูตัวอย่างโปรแกรม DirectAdmin
การติดตั้ง WordPress บน Plesk
สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ Plesk เป็น Control Panel สามารถที่จะทำการติดตั้ง WordPress ได้ง่าย ดังนี้
1. ให้ล็อกอินข้าสู่ระบบ Control panel แล้วให้หาเมนู WordPress ด้านซ้ายมือ
2. ทำการตั้งค่าในแต่ละส่วน ดังนี้
2.1 ให้ใส่ชื่อโดเมนของเรา ที่ช่อง Installation pathe ยกตัวอย่างเช่น yourdomain.com ในส่วนช่องด้านหลังหากมีคำว่า /wordpress ให้ลบออก
2.2 ให้ตั้งค่าผู้ใช้งาน (Username), รหัสผ่าน (Password) ตามที่เราต้องการ โดยรหัสผ่านสามารถกดปุ่ม Generate เพื่อให้ระบบตั้งค่าให้ได้ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) นี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการเข้าหลังบ้านของเว็บไซต์ของเราหากดำเนินการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
2.3 ให้ใส่อีเมล (Email) ของเราเพื่อรับอีเมลจากระบบเพื่อป้องกันการลืมพาสเวิร์ดในอนาคต โดยระบบจะส่งเข้ามายังอีเมลนี้
2.4 ในส่วนอื่นๆ เราสามารถเลือกและตั้งค่า ได้ เช่น Website title คือ การตั้งชื่อเว็บไซต์ของเรา Plugin/theme set ก็เป็นการเลือกธีมหรือปลั๊กอินที่ต้องการใช้งาน Website language ก็เป็นการเลือกภาษาที่เราจะใข้กับเว็บไซต์นี้ และ Version ก็เป็นเวอร์ชั่นของ WordPress ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เราสามารถตั้งค่าพวกนี้ได้ หรืออาจจะตั้งค่าในภายหลังก็ได้
3. หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Install ระบบจะทำการติดตั้งโปรแกรม WordPress ให้จนแล้วเสร็จ ก็สามารถใข้งานได้แล้ว
การติดตั้ง WordPress บน cPanel
สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ cPanel เป็น Control Panel สามารถที่จะทำการติดตั้ง WordPress ได้ดังนี้
1. เมื่อเข้าสู่ระบบ cPanel ให้ไปที่เมนู WordPress Manager by Softaculous เพื่อดำเนินการติดตั้ง WordPress
2. ระบบจะเปลี่ยนไปหน้าของโปรแกรม Softaculous มีส่วนของ WordPress Management แสดงอยู่ ให้เราทำการกดปุ่ม Install
3. ในขั้นตอนถัดไป ระบบจะให้เราทำการใส่ชื่อโดเมนเนมที่เราต้องการติดตั้ง WrodPress ที่ Choose Installation URL ให้เราใส่โดเมนของเราแทน yourdomain.com
4 ในส่วนของ Admin Accounts ให้ทำการใส่ชื่อผู้ใช้งาน (Admin Username) และรหัสผ่าน (Admin Password) เพื่อใช้งานหลังบ้านหลังจากทำการติดตั้ง WordPress เรียบร้อยแล้ว และให้ใส่ Admin Email ซึ่งเป็นอีเมลของเราเองลงไปด้วย
5. สำหรับในส่วนของ Site Settings จะเป็นการตั้งค่าชื่อเว็บไซต์ (Site Title) และคำโปรยหรือคำบรรยายของเว็บไซต์ (Site Description) ให้เราตั้งค่าได้ตามใจชอบ รวมถึงเลือกภาษาที่ต้องการใช้ได้เช่นเดียวกันที่หัวข้อ Choose Language
6. สำหรับในส่วนของ Select Plugins เราสามารถที่จะเลือกติดตั้งปลั๊กอินไปพร้อมๆ กับการติดตั้ง WordPress ได้เลยในทันที หรือจะยังไม่ติดตั้งก็ได้ ไว้ไปติดตั้งภายหลังจากติดตั้ง WordPress เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
7. ในส่วนด้านล่าง Advanced Options เป็นส่วนการตั้งชื่อฐานข้อมูล เราจะตั้งชื่อเองหรือให้ระบบตั้งชื่อให้ก็ได้ และในส่วนของ Select Theme ก็เป็นการเลือกธีมเว็บไซต์ของเรา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังเช่นเดียวกัน
8. เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม Install ระบบจะดำเนินการติดตั้งให้ จนแล้วเสร็จก็สามารถใช้งาน WordPress ได้แล้วครับ
การติดตั้ง WordPress บน DirectAdmin
สำหรับผู้ใช้งานที่ใช้ DirectAdmin เป็น Control Panel สามารถที่จะทำการติดตั้ง WordPress ได้ในลักษณะเดียวกันกับ cPanel เนื่องจากทั้งสอง Control Panel นั้นใข้โปรแกรม Softaculous ในการติดตั้งทั้งคู่
สรุปส่งท้าย
เราสามารถทำการติดตั้งโปรแกรม WordPress ผ่านโปรแกรม Plesk, cPanel และ DirectAdmin ได้ ในลักษณะเดียวกัน เพราะคอนเซปท์ในการติดตั้งในแบบเดียวกันทั้งสามประเภท สิ่งที่จำเป็นในการติดตั้งคือ ชื่อโดเมนเนม (Domain Name) ชื่อผู้ใช้งาน (Username) รหัสผ่าน (Password) และอีเมลในการติดตั้งเท่านั้น ซึ่งการติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก และใช้งานได้ในทันที เหมาะกับผู้เริ่มต้นใช้งานและทำเว็บไซต์จริงๆ